หลายท่านอาจสงสัยว่า ราคาและคุณค่าของเพชรขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?
วันนี้ Mr.Diamond จะมาเฉลย
น้ำหนัก Carat weight
เพชรนั้นมีหน่วยวัดน้ำหนักเป็น กะรัต (Carats) ซึ่งหนักประมาณ 0.2 กรัม แต่ท่านผู้อ่านอย่าสับสนกับ Karat ซึ่งเป็นหน่วยวัดความบริสุทธิ์ของทองคำ 1 Carat นั้นก็คล้ายกับ 1 บาท ที่มี 100 สตางค์ (Point) เช่นเพชรหนัก 1.08 Carat ก็เท่ากับ เพชรหนัก 1 การัต กับอีก 8 สตางค์ หลายคนคงเคยได้ยินเพชร 50 สตางค์ ซึ่งก็คือ 0.50 Carat ในแง่ของราคายิ่งน้ำหนักมากยิ่งมี่ราคาสูง
หลายคนคงสงสัยว่าอะไรคือจุดเริ่มต้นของ Carat
จุดเริ่มต้นนั้นมาจาก เมล็ด Carob เนื่องจาก เมล็ด Carob มีน้ำหนักใกล้เคียงกันมากนักค้าอัญมณีเริ่มแรกจึงใช้เมล็ด Carobในการถ่วงน้ำหนักตาชั่ง ชึ่งในปัจจุบัน Carat เป็นหน่วยน้ำหนักสำหรับการค้าอัญมณีที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก
สี Color
เพชรในท้องตลาดมีตั้งแต่ขาวหรือไม่มีสีไปจนถึงขาวอมเหลืองหรือน้ำตาลซึ่งเรามักจะเรียกกันว่าเพชรเหลือง
การจำแนกระดับสีในทองตลาดซึ่งที่นิยมใช้คือหน่วยของ GIA’s color-grading scaleโดยเริ่มจาก D จนถึง Z โดย D คือขาวที่สุดซึ่งมีราคาแพงมากผู้ชื้อควรระวังถ้าชื้อเพชร D color ต้องขอใบรับรองจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับเท่านั้น (GIA, HRD) เพชรที่เรียกว่าขาวและเป็นที่นิยมนั้นสีจะอยู่ประมาณ G,H color โดยการเทียบสีนั้นจะทำภายใต้สภาพแสงไฟที่มีค่าแน่นอน
ความแตกต่างของสีนั้นใน grade สี
ที่อยู่ติดกันนั้นเล็กน้อยมากสำหรับคนทั่วไปซึ่งไม่ได้ฝึกฝนมานั้นจะไม่เห็น
ความแตกต่าง
แต่ว่าที่แตกต่างกันเล็กน้อยนั้นคือสีนะครับแต่ราคานะต่างกันมากทีเดียว
เพราะฉะนั้นสีก็เป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อราคามาก
ความสะอาด Clarity
เพชร
ในธรรมชาตินั้นมักมีตำหนิเสมอเนื่องจากเพชรนั้นกำเนิดภายใต้แรงกดดันสูงจึง
มักมีผลึกแปลกปลอมแทรกอยู่ในเนื้อเพชร
เพชรที่ไร้ตำหนินั้นหายากมากซึ่งก็ส่งผลให้ราคาสูงไปด้วย
การจัดลำดับความสะอาดนั้นนักอัญมณีศาสตร์จะตรวจภายใต้กล้องที่มีกำลังขยาย 10 เท่า
การจัดลำดับนั้นในระบบของ GIA จะมีทั้งหมด 11 ระดับ
(Flawless) ไร้ตำหนิ คือนักอัญมณีศาสตร์ไม่สามารถมองเห็นตำหนิทั้งภายนอกและภายในเนื้อเพชรภายใต้กล้องที่มีกำลังขยาย 10 เท่า
Internally Flawless (IF) คือนักอัญมณีศาสตร์ไม่สามารถมองเห็นตำหนิภายในเนื้อภายใต้กล้องที่มีกำลังขยาย 10 เท่า
Very, Very Slightly Included (VVS1 and VVS2) นักอัญมณีศาสตร์สามารถมองเห็นตำหนิได้แต่มีความยากมากและใช้เวลาภายใต้กล้องที่มีกำลังขยาย 10 เท่า
Very Slightly Included (VS1 and VS2) นักอัญมณีศาสตร์สามารถมองเห็นตำหนิได้แต่ถือว่าเล็กน้อยเท่านั้นภายใต้กล้องที่มีกำลังขยาย 10 เท่า
Slightly Included (SI1 and SI2) นักอัญมณีศาสตร์สามารถมองเห็นตำหนิง่ายภายใต้กล้องที่มีกำลังขยาย 10 เท่า
Included (I1, I2, and I3) นักอัญมณีศาสตร์สามารถมองเห็นตำหนิง่ายภายใต้กล้องที่มีกำลังขยาย 10 เท่ารวมทั้งตำหนินั้นมีผลต่อความแวววาวของเพชร
การเจียระไน (CUT)
การเจียระไนนั้นมีผลต่อความแวววาวเป็นประกายของเพชรมากซึ่งเป็นเสน่ห์ที่สำคัญของเพชร ในทางเทคนิคเราแบ่งได้เป็น 3 คุณลักษณะคือ brilliance (ปริมาณแสงที่สะท้อนออกจากเพชร), fire (การกระเจิงแสงขาวออกเป็นสีรุ้ง),และ scintillation (ความเป็นประกายเมื่อมีการขยับ)
การเจียระไนแบ่งเป็นหลายรูปทรง โดยเหลื่ยมกลมเกสรเป็นที่นิยมมากที่สุด ส่วนรูปร่างอื่นเราเรียกว่าเหลี่ยมแฟนซี เช่นรูปหัวใจ รูปหยดน้ำ แต่การเจียระไนที่จะกล่าวถึงนี้ขึ้นอยู่กับ สัดส่วน ความสมมาตรและการขัดเงา ก่อนที่เราจะเข้าใจสัดส่วนเรามาดูส่วนประกอบหลักของเพชรกันดีกว่า
ถ้าเรามองเพชรจากด้ายข้างเริ่มจากด้านบนสุดคือ Table ส่วนต่อมาเรียกว่า Crown ต่อมาคือ Pavilion และสุดทางคือ Culet
โดยสัดส่วนของเพชรขึ้นอยู่ table width, crown height and pavilion depth เป็นหลัก
คุณรู้หรือไม่ว่า Pavilion depth นั้นมีผลต่อเพชรอย่างไร
การเจียรไนที่ดีนั้นความลึกของ Pavilion ต้องเหมาะสมถ้า Pavilion นั้นลึกหรือตื้นเกินไปจะทำให้แสงทะลุออกด้านข้างแทนที่จะสะท้อนกลับเข้าตาเรา